“เขียงเสี่ยงโรค” อันตรายใกล้ตัวที่มองไม่เห็น

จุดสีดำที่เขียง ก่อมะเร็งจริงหรือไม่?

อุปกรณ์การทำอาหารประเภทไม้ ไม่ว่าจะเป็น ตะเกียบ เสื่อพันข้าวที่ใช้ในการม้วนซูชิ หรือ เขียง สามารถเกิดเชื้อราที่ผลิตสารอะฟลาทอกซินได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับ ถ้าหากได้รับการบริโภคเชื้อรา และสารอะฟลาทอกซินบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ดังนั้นอุปกรณ์การทำอาหารประเภทไม้ หากใช้ไปนาน ๆ ไม่ได้รับการทำความสะอาด และไม่ได้รับการผึ่งตากแดดให้แห้งสนิท จะทำให้เกิดเชื้อราได้ อีกทั้งยังสามารถเกิดเชื้อราได้หลายชนิด เช่น Penicillium Aspergillus และ Alternaria โดยพ่อค้าแม่ค้าจะสามารถสังเกตได้ที่จุดเล็ก ๆ สีดำ บนอุปกรณ์การทำอาหารที่ทำมาจากวัสดุประเภทไม้ นั่นแสดงว่าเขียงของเรานั้นไม่ปลอดภัย และอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคได้

เมื่อเขียงมีเชื้อราเกิดขึ้น จะส่งผลอันตรายต่อร่างกายของเรา ดังนี้

  • ตับอักเสบ
  • มะเร็งตับ
  • ผลกระทบต่อเด็ก คือ ทำให้การเจริญเติบโตช้า พัฒนาการทางสมองช้า  หรือเสี่ยงพิการแต่กำเนิด

วันนี้ห้องเรียนร้านค้า LINE MAN Wongnai ได้รวบรวมมาให้แล้วกับ 5 วิธี ป้องกันเชื้อราในอุปกรณ์ทำอาหาร จะมีวีธีอะไรบ้างไปดูกันเลย !

1. ล้างทำความสะอาดเขียงทุกครั้งหลังใช้งาน 

โดยล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง และใช้น้ำยาล้างจานเช็ดคราบมันออกจากเนื้อเขียง จนสะอาด แต่นั่นก็ไม่ใช่วิธีการล้างทำความสะอาด และดูแลรักษาเขียงที่ถูกต้องที่สุด พ่อค้าแม่ค้าควรล้างเขียงด้วยวิธีตามนี้เลย

  • ล้างเขียงไม้ด้วยน้ำร้อน โดยการราดลงไปบนเขียง ทิ้งไว้ซักพักแล้วล้างออก จากนั้นนำไปตากแดด หรือผึ่งลมให้แห้งในที่ที่มีอากาศถ่ายเท ก็จะช่วยให้เขียงไม้สะอาด และยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น
  • ใช้น้ำส้มสายชูเช็ดแล้วราดด้วยน้ำร้อน จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้ง ก็จะช่วยลดปัญหาเรื่องกลิ่น และเชื้อราได้
  • ใช้น้ำมันพืชลูบบาง ๆ ให้ทั่วเขียงไม้ก่อนนำไปเก็บ จะทำให้พื้นผิวของเขียงไม้คงความสวย เงางามได้ยาวนานขึ้น

2. นำเขียงที่ล้างด้วยน้ำสะอาดแล้ว ไปผึ่งกับแดดให้แห้งสนิท

ควรเก็บเขียงไม้ไว้ในที่แห้ง ไม่อับชื้นเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจเกิดจากความชื้นมาสะสมอยู่บนเขียงไม้ รวมถึงเชื้อราที่อาจเกาะติดอยู่ในเนื้อเขียงไม้ โดยต้องผึ่งลมให้แห้งทุกครั้งก่อนจัดเก็บ 

3. ดูแลรักษาไม่ให้เขียงมีรอย หรือร่องลึกซึ่งอาจก่อให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย

ถ้าไม่อยากให้รอยแตกของเขียงขยายมากขึ้น ให้นำเขียงไม้ไปแช่น้ำเกลือ หรือแช่น้ำมันพืชทิ้งไว้ โดยถ้าเป็นน้ำเกลือ ให้แช่นาน 3-4 วัน ถ้าเป็นน้ำมันพืช แช่อย่างน้อย 5 วัน จะช่วยให้รอยแตกผสานเข้าหากันมากขึ้น โดยวิธีการนี้ ยังเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งาน และป้องกันเชื้อราได้อีกด้วย

4. แยกประเภทเขียงหั่นเสื้อสัตว์ดิบ ผักผลไม้สด และอาหารปรุงสุก

สามารถแยกประเภทการใช้งานของเขียงเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียได้ดังนี้ 

  • เนื้อสัตว์แดง
  • สัตว์ปีก
  • สัตว์น้ำ
  • ผัก และผลไม้
  • ขนมปัง ผลิตภัณฑ์จากนม
  • อาหารปรุงสุก

5. หมั่นสังเกตเขียง

สังเกตเขียงว่ามีเชื้อราอยู่หรือไม่ หากพบเจอจุดสีดำเล็ก ๆ ควรนำไปทิ้งทันที ไม่นำกลับมาใช้ใหม่ เพราะจุดสีดำเล็ก คือ เชื้อรา นั่นเอง

เพียงเท่านี้เราก็จะมีเขียงที่ถูกสุขอนามัย พร้อมทำเมนูเด็ดให้ลูกค้าแน่นอน

ติดตามข่าวสาร และสาระน่ารู้ที่พ่อค้าแม่ค้า LINE MAN ไม่ควรพลาด ได้ที่กระดิ่งแจ้งเตือนบนแอปฯ Wongnai Merchant App คลิกที่นี่

บทความแนะนำเพิ่มเติม