จะเปิดร้านกาแฟทั้งที คงมีค่าใช้จ่ายมากมายชวนให้ปวดหัว มาลองประเมินเงินลงทุนและวางแผนด้านการเงิน ให้ธุรกิจร้านกาแฟของคุณราบรื่นไม่มีคำว่าเจ๊ง
ทุกวันนี้การเปิดร้านกาแฟมักจะแข่งขันให้รุ่งได้ด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและแตกต่าง ทั้งดีไซน์การตกแต่งของร้าน บรรยากาศภายในร้าน เมนูสร้างสรรค์ รสชาติถูกใจคอกาแฟ สไตล์การให้บริการ และสถานที่หรือทำเลที่ตั้งที่เดินทางไปถึงได้สะดวก ทุกอย่างเหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบที่เชิญชวนให้ลูกค้าขาจรอยากกลับมาซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกลายเป็นลูกค้าประจำ
อย่างไรก็ตาม หากอยากเปิดร้านกาแฟและต้องการผลักดันให้ธุรกิจร้านกาแฟของคุณอยู่รอดได้ ผู้ประกอบการต้องแปลงรูปแบบของธุรกิจ (Business Model) นั้นเป็นรูปแบบทางการเงิน (Financial Model) ให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจร้านกาแฟในฝันให้ได้ ได้แก่
ดูแนวทางในการวางแผนธุรกิจร้านกาแฟได้ ที่นี่
หลังจากผู้ประกอบการรู้แล้วว่าจะเปิดร้านกาแฟแบบไหนแล้ว เงินลงทุน ต้นทุน ค่าใช้จ่าย และราคาขายจะต้องสอดคล้องกัน สมมติว่าจะขายกาแฟในราคาไม่เกิน 50 บาท แต่กลับต้องการแต่งร้านให้ดูหรูหรา หรือลงทุนไปกับการตกแต่งมาก จ้างพนักงานหลายคน ระยะเวลาคืนทุนหรือกว่าจะได้ทุนคืนที่ลงไปก็จะนานมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้จะยอมรับกันได้หรือไม่
ความพอใจของผู้ประกอบการแต่ละท่านไม่เหมือนกัน บางคนพอใจจะเปิดร้านกาแฟไปเรื่อยๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายคงที่ เช่น ไม่มีค่าเช่าเป็นอาชีพเสริม กำไรขาดทุนไม่สำคัญ บางคนอยากได้เงินทุนคืนเร็วเพราะไปกู้ยืมเงินเขามา จำเป็นต้องพิจารณาภาระหนี้ที่ต้องชำระคืนต่อเดือนเทียบกับความสามารถในการหาเงินสดจากการดำเนินงานด้วย
ได้แก่ เงินค่าก่อสร้าง ค่าออกแบบ ค่าตกแต่งร้าน ค่าป้าย เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะและที่นั่ง ของตกแต่งร้าน เคาเตอร์กาแฟ ค่าวางระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ เครื่องปรับอากาศ เครื่องเก็บเงิน (เครื่องคิดเงิน หรือระบบ POS) เครื่องชงกาแฟ อุปกรณ์ชงกาแฟ เครื่องบดกาแฟ เครื่องปั่นน้ำ เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ หากมีเมนูอาหารหรือขนมด้วย ต้องเพิ่มไมโครเวฟ เตาปิ้ง ตู้แช่เค้ก ตู้เย็น เครื่องทำวาฟเฟิล จิปาถะตามเมนูในร้านที่รังสรรค์ขึ้นมา ดังนั้นต้องคิดให้ดี ๆ ก่อนนะครับ ว่าจะขายอะไรบ้าง เงินลงทุนโดยประมาณเริ่มต้นจาก 300,000 บาท จนถึง 2,000,000 บาท ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของร้านด้วย
- วัตถุดิบสินค้า เช่น เมล็ดกาแฟ นมสด นมข้นหวาน น้ำตาล วิปครีม น้ำสะอาด ผงวนิลา ผงช็อกโกแลต ซีรับ น้ำแข็ง ซองน้ำตาล ซองครีมเทียม เป็นต้น ประเมินว่าจะต้องเก็บไว้เท่าไร คำนวณคร่าว ๆ ว่าจะขายกี่แก้วต่อวันหรือต่อสัปดาห์ วัตถุดิบบางอย่างเก็บไว้นานไม่ได้ เช่น นมสด ต้องประมาณว่าจะใช้เท่าไร มากไปก็เหลือจนเสีย น้อยไปก็ต้องหาเวลาไปซื้อให้ทัน
- บรรจุภัณฑ์ เช่น แก้วกาแฟ (กระดาษสำหรับเครื่องดื่มร้อน พลาสติกใสสำหรับเครื่องดื่มเย็น) ฝาปิด ไม้คน หลอดดูด กระดาษทิชชู่ เป็นต้น ในกรณีของแก้วกาแฟ บางคนอยากจะทำโลโก้ร้านสกรีนบนแก้วกาแฟ ต้องพิจารณาให้ดีว่าจะต้องทำขั้นต่ำกี่แก้ว บางโรงงานขอขั้นต่ำ 10,000 - 30,000 แก้ว ยิ่งสั่งทำน้อย ราคาต่อแก้วยิ่งสูง ราคาแก้วกาแฟเย็น ขนาดแก้วไม่เท่ากันอีก ที่ร้านมีพื้นที่เก็บแก้วจำนวนมากหรือไม่
สมมติว่าเราจะขายวันละ 100 แก้ว สั่งซื้อมา 10,000 แก้ว แปลว่าเราจะมีขาย 100 วัน หรือ 3 เดือนกว่า ถ้าไม่สนใจเรื่องสกรีนโลโก้ ราคาแก้วกาแฟเย็นขนาด 22 Oz. เนื้อ PP เฉลี่ยแก้วละ 3.20 บาท ถ้าสั่ง 1 ลัง มี 500 ใบ
- ค่าจ้างพนักงาน ทั้งพนักงานประจำ และพนักงาน Part Time หรือรายวัน ต้องคำนวณให้ได้ว่าควรมีพนักงานกี่คน มากน้อยตามความเหมาะสมของเวลา ของจำนวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ นอกเหนือจากค่าจ้างแล้วต้องพิจารณาเรื่องสวัสดิการ โบนัส ค่าทำงานนอกเวลาหรือ OT เป็นต้น
- ค่าสาธารณูปโภค ควรคำนวณให้ได้ว่าจะเสียค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปาเท่าไรต่อเดือน สามารถเทียบเคียงกับร้านข้างเคียงได้
- ค่าเช่าสถานที่ ควรศึกษาสัญญาเช่าให้ละเอียดว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น ค่าเช่ารายเดือน ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้ากี่เดือน และเงินมัดจำหรือเงินประกันตามสัญญาเช่า ซึ่งเงินมัดจำจะได้คืนเมื่อหมดสัญญาเช่าหรือจะถูกยึดไป เมื่อไม่สามารถชำระค่าเช่ารายเดือนตามที่ตกลงไว้
ค่าเช่าสถานที่เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ หรือต้นทุนคงที่ในกรณีที่สัญญาเช่ากำหนดให้ชำระเท่าๆ กันทุกเดือน และจะเป็นต้นทุนผันแปรเมื่อสัญญาเช่าระบุให้กำหนดเป็น GP หรือ Gross Profit คำนวณเป็นร้อยละต่อยอดขาย เช่น GP 18% ผู้ประกอบการจะคำนวณค่าเช่าจาก ยอดขาย (100,000 บาท) คูณอัตรา GP ร้อยละ 18 จะต้องชำระค่าเช่าเท่ากับ 18,000 บาท ที่สำคัญ เวลาเจรจากับเจ้าของสถานที่ต้องรู้ให้หมดว่า ยังมีค่าใช้จ่ายอะไรที่เกี่ยวข้องอีกบ้าง
เมื่อหาทำเลสำหรับเปิดร้านกาแฟ เวลาเจรจากับเจ้าของสถานที่ อย่าลืมถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าที่จอดรถ ค่าใช้จ่ายในการร่วมมือการจัดกิจกรรมต่างๆ ค่าเช่าที่ระบุในสัญญามักไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าภาษีโรงเรือนที่ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบจ่ายด้วย ปกติประมาณ 12.5% ของค่าเช่า
ตัวอย่างเช่น กันเงินไว้ชำระวัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าสาธารณูปโภคประมาณ 3-6 เดือน อย่าใช้เงินจนหมดในครั้งแรกเราต้องมีเงินในการหมุนเวียนธุรกิจด้วยเหมือนเก็บไว้อีกก๊อกเผื่อฉุกเฉิน
สมมติตัวเลขพื้นที่ร้านกาแฟขนาด 50 ตารางเมตร
รวมเงินทุนหมุนเวียนต่อเดือน เท่ากับ 60,000 + 48,0000 + 8,000 + 54,000 = 170,000 บาท
เก็บเงินทุนไว้เผื่อฉุกเฉิน 3 เดือน จะเท่ากับ 170,000 x 3 = 510,000 บาท
สมมติว่าเงินลงทุนก่อสร้างและอุปกรณ์ในพื้นที่ 50 ตาราเมตร เท่ากับ 1,100,000 บาท บวกกับเงินทุนหมุนเวียนอีก 510,000 บาท เท่ากับ 1,610,000 บาท
จุดคุ้มทุนเป็นเหมือนเป้าหมายขั้นต่ำในการดำเนินงานของร้านในแต่ละเดือน เนื่องจากถ้าขายได้ต่ำกว่าจุดคุ้มทุน มีรายได้น้อยกว่า รายจ่าย แปลว่ากำไรติดลบ ขาดทุนนั่นเอง โดยจุดคุ้มทุน คำนวณจากจำนวนแก้วที่ต้องขายโดยประมาณการไว้หกลับค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อเดือนแล้วก็ประมาณการ จะได้จุดคุ้มทุน จุดคุ้มทุนที่ต่ำสุดคือ จุดที่รายได้และรายจ่ายหักลบกันแล้วได้มากกว่า 0 บาทขึ้นไป
โดยคำนวณจากต้นทุนเริ่มต้นทั้งหมด (ไม่รวมเงินทุนหมุนเวียน) แล้วหารด้วยกำไรจากการดำเนินงานต่อเดือน (กำไรจากการดำเนินงานต่อเดือน สามารถหาได้จากการคำนวณจำนวนแก้วที่ขายได้ทั้งหมดในแต่ละเดือน ลบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานแต่ละเดือน) จะได้ระยะเวลาหรือจำเดือนทั้งหมดที่ใช้จนกว่าจะถึงจุดคืนทุน
หลายคนอาจตกใจแล้วว่าจะเปิดร้านกาแฟทั้งที ต้องใช้เงินลงทุนกันเยอะขนาดนี้เลยเหรอ แต่นี่เป็นการประเมินเงินลงทุนในเบื้องต้น ยิ่งเราประเมินเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายอย่างละเอียดแล้ว ยิ่งช่วยเราป้องกันไม่ให้งบประมาณบานปลาย เพียงแค่นี้การลงทุนเปิดร้านกาแฟในฝันของคุณก็จะราบรื่นมากยิ่งขึ้น อย่าลืมสิ่งที่บอกไว้เสมอครับ เรื่องความรู้พื้นฐานทางการเงินนั้นสำคัญ นอกจากจะช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นแล้ว ยังทำให้การวางแผนธุรกิจร้านกาแฟของคุณมีแนวทางชัดเจนขึ้นด้วย หากศึกษาและเรียนรู้ไว้ก็จะเป็นผลดีกับร้านของคุณเองครับ
บทความโดย คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ : กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด ที่ปรึกษาการวางแผนกลยุทธ์ การเงินธุรกิจ และแฟรนไชส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม สถาบันธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร
สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้ที่ทำธุรกิจร้านอาหารร้านกาแฟที่สนใจ ระบบจัดการร้านอาหาร Wongnai POS ตอบโจทย์ทุกการจัดการ พร้อมเชื่อมร้านของคุณเข้าสู่โลกออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย ด้วย Wongnai POS ทั้งแบบ Mini, 1 จอและ 2 จอ ในราคาจับต้องได้
ลงทะเบียนแสดงความสนใจหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่