เปิดร้านขายอาหารออนไลน์ต้องทำอะไรบ้าง?

อยากเปิดร้านขายอาหารออนไลน์ จะเริ่มต้นจากอะไรดี? มีอะไรที่ต้องรู้ต้องคิดบ้าง?

ยุคนี้ การจะเปิดร้านขายอาหารออนไลน์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว เพราะเราสามารถเปิดร้านผ่านแอปฯ Food Delivery ได้ง่าย ๆ แต่ความท้าทายของการขายอาหารผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรีอยู่ที่ การทำให้ร้านเป็นที่รู้จัก

ไม่ว่าคุณจะเป็นร้านอาหารที่มีหน้าร้านอยู่แล้ว หรืออยากทำอาหารขายที่บ้านหารายได้เสริมแล้วไม่รู้จะเริ่มต้นเปิดร้านยังไง ทำอะไรก่อนดี บทความนี้ เรารวม 4 สเต็ปที่คุณควรจะต้องทำ ในการเปิดร้านขายอาหารออนไลน์ผ่าน Food Delivery ทำตามกันได้เลย

1. อย่างแรกต้องเลือกว่า จะขายอะไร

ถึงแม้ว่าเรามีเมนูอาหารในใจว่า เราอยากจะทำสิ่งนี้ขาย เพราะเราทำเก่งหรือด้วยความชอบ หรือจะเป็นร้านของเรามีเมนูตามนี้ที่ขายหน้าร้านอยู่แล้ว เราอาจจะไม่สามารถขายอาหารได้ตามที่เราอยาก ถ้าอยากให้ร้านอาหารออนไลน์ของเราไปรอด 

เพราะลูกค้าที่สั่งอาหารออนไลน์มีความต้องการแตกต่างออกไปและการขายอาหารออนไลน์ก็มีหลายเรื่องที่ต้องคำนึงถึง 

อาหารเหมาะสำหรับขายเดลิเวอรีหรือไม่? 

ไม่ใช่อาหารทุกอย่างที่เหมาะขายเดลิเวอรี! 

การขายอาหารเดลิเวอรีนั้น มีเรื่องของการขนส่งเข้าเกี่ยวข้องด้วย ร้านต้องคำนึงว่า อาหารที่ขายสามารถขนส่งด้วยไรเดอร์ได้ไหม เมื่อไปถึงมือลูกค้า อาหารจะยังน่ารับประทานอยู่หรือเปล่า ที่สำคัญ ลูกค้าที่สั่งอาหารออนไลน์ เขาต้องการความสะดวก อาหารที่ทำขายจึงควรเป็นอาหารที่พร้อมรับประทาน 

เวลาในการเตรียม ไม่ควรเกิน 15 - 30 นาที 

การขายอาหารเดลิเวอรี ต่างจากการทำอาหารขายหน้าร้านที่ลูกค้าสั่ง ร้านทำเสร็จก็ยกเสิร์ฟจากครัวเพียงไม่กี่ก้าว การทำอาหารขายเดลิเวอรีต้องเผื่อเวลาสำหรับการจัดส่งเอาไว้ด้วย โดยการเตรียมและปรุงอาหารไม่ควรใช้เวลาเกิน 15 - 30 นาที เพราะหากนานกว่านั้น แล้วรวมกับเวลาขนส่งด้วย ลูกค้าอาจไม่อยากรอ

ร้านจะไปรอด ต้องขายสิ่งที่คนซื้อ 

หากอยากให้ร้านไปรอด การขายสิ่งที่คนซื้อบ่อย ๆ สิ่งที่มีคนต้องการสูง เป็นทางเลือกที่น่าจะสร้างกำไรได้มากกว่าการเปิดขายอาหารตามใจเรา 

สมมติว่า เราชอบกินราเมนมาก ๆ เลย และมั่นใจด้วยว่าทำอร่อย แต่ร้านของเราไม่ใช่ร้านที่มีชื่อเสียงหรือติดตลาดอยู่ก่อนแล้ว เมื่อคิดถึงโอกาสที่คนคนหนึ่ง (ที่แม้จะชอบกินราเมนเป็นพิเศษ) เดือนหนึ่ง เขาจะสั่งกินกี่ครั้ง ดังนั้นจึงอยากแนะนำว่า ก่อนจะเลือกขายอะไร อยากให้ดูตลาดว่า คนชอบกินอะไร ชอบสั่งอะไร คุณลองเลือกดูจากลิสต์เมนูเหล่านี้ก่อนได้

แนะนำของที่คนชอบสั่ง คนสั่งบ่อย บน Food Delivery

2. เลือกบรรจุภัณฑ์หรือแพ็กเกจจิ้ง

หากขายอาหารตามร้านทั่วไป เราอาจจะแต่งร้าน เลือกภาชนะเสิร์ฟอาหารที่น่ากิน แต่สำหรับการขายอาหารแบบเดลิเวอรี สิ่งที่ต้องทำก็คือ การเลือกบรรจุภัณฑ์หรือแพ็กเกจจิ้งใส่อาหาร ซึ่งการเลือกแพ็กเกจจิ้งนั้น ไม่ใช่แค่ต้องสวย แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องคิดถึงเพิ่มเติมอีกด้วย

เลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะกับอาหาร

เลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะกับประเภทอาหารที่เราขาย เช่น ถ้าเป็นของเปียกควรใส่ถุงหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติก ของแห้งสามารถใช้กระดาษได้ ถ้าเป็นของทอดและร้อนควรเลือกบรรจุภัณฑ์กระดาษหรือลังที่ซับน้ำมันและสามารถระบายไอร้อนได้ เป็นต้น นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงตอนที่ลูกค้าต้องแกะบรรจุภัณฑ์ อาหารจะยังออกมาน่ากินหรือเปล่า มือจะเลอะหรือไม่ เป็นความใส่ใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการเลือก ที่ทำให้ลูกค้าประทับใจได้

เลือกบรรจุภัณฑ์โดยคำนึงถึงการจัดส่ง

เป็นอีกเรื่องใหญ่มาก ๆ ที่ร้านต้องคำนึงถึง เวลาเลือกบรรจุภัณฑ์เราต้องคิดว่า บรรจุภัณฑ์สามารถกักเก็บอาหารให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดระหว่างจัดส่งได้หรือไม่ หากเป็นเครื่องดื่ม อาจมีการแยกนำ้แข็ง น้ำ และมีพลาสติกแรป (wrap) ปิดปากแก้ว ฐานล็อกแก้ว เป็นต้น หรือหากเป็นอาหารที่มีหลายองค์ประกอบ อาจเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีหลายช่องหรือแยกถุงบรรจุเพื่อกันไม่ให้อาหารคลุกเคล้าปนกันจนไม่น่ากิน

เลือกบรรจุภัณฑ์ที่แพ็กง่าย รวดเร็ว 

ขายอาหารออนไลน์ ‘ความเร็ว’ คือ สิ่งสำคัญ การบรรจุอาหาร/เครื่องดื่มลงบรรจุภัณฑ์ไม่ควรจะกินเวลามาก

ร้านควรจะเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เปิด-ปิด แพ็กง่าย หากเปิดยาก มีหลายสลักที่ต้องเปิด ต้องงัดทำให้ใช้เวลารวม ๆ ในการเตรียมอาหารมากขึ้น เมื่อใช้เวลาเตรียมมากขึ้น ก็รับออร์เดอร์ได้น้อย และลูกค้าต้องรอนาน

3. เลือกช่องทางขาย / เลือก Food Delivery

สิ่งที่ต้องทำต่อมา คือ การเลือกแพลตฟอร์ม Food Delivery หรือแอปฯ ที่เราจะเปิดร้านขายอาหารออนไลน์ด้วย ซึ่งทริคในการเลือกก็มีหลัก ๆ อยู่ด้วยกัน 2 ข้อ

ข้อแรกให้เลือก Food Delivery ที่มีคนใช้บ่อย

ให้ เลือกจากจำนวนคนใช้ที่ใช้แอปฯ Food Delivery นั้น ๆ เพราะเราต้องการที่จะเข้าถึงผู้ใช้งานจำนวนมาก ยิ่งแอปฯ ไหนมีคนใช้งานเยอะ ก็มีโอกาสที่เราจะได้ลูกค้าเพิ่มมากขึ้น 

สิ่งที่ต้องสังเกตก็คือ ดูว่าเพื่อน ๆ หรือคนรอบตัวใช้งานแอปฯ ไหนบ้าง หรือบริเวณที่เราอยู่อาศัย มีไรเดอร์จากเจ้าไหนให้เห็นบ่อย ๆ

ข้อสองเลือกจากข้อดีและเงื่อนไขต่างๆ ของแอปฯ

ก่อนตัดสินใจเลือก Food Delivery เจ้าไหน ควรศึกษาดูก่อนว่า การสมัครเปิดร้านขายอาหารออนไลน์กับแต่ละเจ้ามีเงื่อนไขต่างกันอย่างไร เจ้าไหนดีกว่า รวมไปถึง ความยาก-ง่าย ในการเปิดร้าน เพราะบางที เราต้องการเปิดร้านแล้ว แต่ต้องทำเรื่องยุ่งยาก รอการอนุมัติเป็นเดือน ก็ทำให้เราเสียโอกาสไป

สำหรับ LINE MAN สามารถสมัครเปิดร้านได้ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องรออนุมัติเป็นวัน เราสามารถโหลดแอปฯ Wongnai Merchant App แล้วลงทะเบียนเปิดร้านได้ทันที กรอกข้อมูลร้านและเมนูที่ขาย ใส่รูป แล้วเปิดร้านได้เลย!

อ่านเพิ่มเติม: วิธีเปิดร้านอาหารบน LINE MAN ง่าย ๆ ไม่กี่สเต็ป เปิดได้ในวันเดียว!

4. สร้างตัวตนบนแอปฯ ทำให้ลูกค้ารู้จักร้าน

หลังจากที่เปิดร้านแล้ว ภารกิจต่อมาก็คือ การทำร้านให้เป็นที่รู้จักและเห็นร้านเยอะ ๆ ผ่านการทำการตลาดและทริคต่าง ๆ เหล่านี้

ตั้งชื่อร้านให้จดจำง่าย มีชื่อเมนูหลักของร้านด้วยยิ่งดี 

สิ่งแรกที่อยากแนะนำให้ทำเลย คือ การตั้งชื่อร้านให้ค้นหาเจอได้ง่าย ด้วย 1) ตั้งชื่อร้านอาหารให้โดดเด่น ไม่ซ้ำกับร้านอื่น และ 2) ตั้งชื่อร้านให้มีเมนูหลักที่คนจะสั่ง เช่น “ส้มตำ ยำ ยั่ว รัชดาฯ” “เป็ดย่างนาคร” ฯลฯ จะช่วยเพิ่มโอกาสที่คนจะเสิร์ชเจอร้านมากกว่า ชื่อร้านที่ไม่มีชื่อเมนูอาหาร

รูปอาหาร รูปร้าน ต้องสื่อสารและน่ากิน

นอกจากชื่อร้านที่เสิร์ชง่ายแล้ว ลองมานึกภาพตามกันดู!
ตอนนี้ลูกค้าอาจจะเห็นร้านของเราในรายการผลการค้นหาร้านแล้ว แต่เขาอาจจะยังไม่คลิก แล้วอะไรล่ะ ที่ทำให้ลูกค้าอยากคลิกเข้ามาในร้าน คำตอบ คือ “รูปถ่ายอาหารที่น่ากิน” ซึ่งเทคนิคที่อยากจะแนะนำในการเลือกรูปมาเป็นปกร้านอาหาร ได้แก่

  1. เลือกรูปเมนูหลักหรือเช็ตอาหารที่ร้านขาย เช่น หมูสะเต๊ะ ขนมจีน กาแฟ เป็นต้น
  2. เลือกรูปเมนูอาหารที่น่ากินและมีปริมาณที่ดูคุ้มค่า น่าซื้อ
  3. รูปมีความโดดเด่น สะดุดตา ชวนให้อยากลิ้มลอง

ทำการตลาดผ่านแอปฯ Food Delivery ที่ใช้ 

ไหน ๆ เราก็เปิดร้านขายบนแอปฯ Food Delivery อยู่แล้ว ก็อยากแนะนำให้ใช้ประโยชน์จากแอปฯ ให้มากที่สุดด้วยการ ทำการตลาดผ่านแอปฯ ที่ใช้ผ่านวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น…

  • ทำโปรโมชันส่งเสริมการขาย ใช้ฟีเจอร์สร้างโปรโมชันให้เป็นประโยชน์ ซึ่งในทุก ๆ แอปฯ Food Delivery จะมีเมนูให้สร้างโปรโมชันอยู่แล้ว เช่น ลดราคา ซื้อ 1 แถม 1 เมนูเซต ฯลฯ โปรโมชันเหล่านี้ช่วยดึงดูดลูกค้าให้มาสั่งอาหารจากร้านเราได้ นอกจากนี้ ถ้าเป็น LINE MAN หากร้านใดกำลังจัดโปรฯ อยู่ แอปฯ จะช่วยโปรโมต ให้สื่อโฆษณาเพิ่มอีกด้วย 
  • เข้าร่วมแคมเปญการตลาดของแอปฯ แต่ละแอปฯ มักจะมีแคมเปญให้ร้านเข้าร่วมซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้งานซื้อมากขึ้น เช่น แคมเปญประจำเดือน แคมเปญตามเทศกาล หรือช่วงที่แอปฯ โปรโมตให้คนใช้งานมากขึ้น อาจจะแจกส่วนลดให้กับผู้ใช้งาน หรือยกตัวอย่างเช่น LINE MAN จะมีโครงการ “เข้าร่วม GP ค่าส่งเริ่มต้น 0 บาท” แอปฯ ก็จะช่วยโปรโมตร้านให้อีกต่อ ช่วยให้คนสนใจร้านยิ่งขึ้นเพราะค่าส่งถูก
  • ยิงโฆษณาเพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ในทุกแอปฯ ร้านสามารถยิงโฆษณาเพื่อโปรโมตร้านได้ เหมาะสำหรับร้านใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีฐานลูกค้า …สำหรับโฆษณาของ LINE MAN คุ้มค่ามากกว่า!  เพราะคิดค่าโฆษณาเฉพาะเมื่อมีคนคลิก จากงบประมาณ ทำให้งบโฆษณาไม่หมดเร็วและงบโฆษณาถูกใช้ไปกับเฉพาะคนที่สนใจร้านของเราจริง ๆ

และหลังจากเปิดร้านสำเร็จ อยากทำยอดขายได้ปัง ๆ กำไรพุ่ง! Wongnai for Business เราก็มีคลังความรู้สำหรับขายอาหารออนไลน์ ทั้งทริคการคิดต้นทุน การทำการตลาด การถ่ายรูปอาหาร การทำโฆษณา การจัดโปรโมชันให้ตรงใจลูกค้า และเทคนิคอีกมากมายที่นี่ อ่าน Tips & Trick การขายอาหารออนไลน์ หรือเริ่มต้นจากเคล็ดลับมือใหม่ด้านล่างนี้

เริ่มต้นเปิดร้านบน LINE MAN คลิกเลย

อ่านบทความเพิ่มเติม คัดสำหรับมือใหม่!